วิธีนั่งขับรถ
|

4 วิธีนั่งขับรถยังไงไม่ให้ปวดหลัง

โรงเรียนสอนขับรถนัมเบอร์วัน ไดร์ฟ NUMBER ONE DRIVE SCHOOL สถานที่ตั้งเลขที่ 228 หมู์ที่ 8 ตําบลหนองหญ้าลาด อําเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ : 065 598 3693


ปัญหาหนึ่งที่คนนั่งหลังพวงมาลัยนานๆ จะพบเจอกันก็คือ อาการปวดหลัง เส้นทางที่ยาวไกลนั้นไม่ใช่อุปสรรค แค่ความเมื่อยล้านี่แหละที่ทำให้หลายคนเบื่อหน่ายกับการขับรถทางไกล แล้วยิ่งใครที่ใช้รถมากๆ ยิ่งนานวันก็จะยิ่งปวดเมื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะร่างกายนั้นไม่ชอบที่จะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ และถ้าเป็นท่าทางที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของร่างกายก็ยิ่งไม่ดีเข้าไปอีก เช่น ก้มหน้ามากไป หลังงอมากไป เป็นต้น อีกทั้งการใช้สายตาจนเกิดความเมื่อยล้า มันจะค่อยๆ สะสมความเครียดและมีผลต่ออาการเกร็งกล้ามเนื้อด้วย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในระหว่างการขับรถทั้งหมดเลย ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มแก้ที่ปรับท่าทางของร่างกายให้ถูกต้องเสียก่อน

วิธีนั่งขับรถ

1. ปรับระยะนั่ง


ปัญหาหนึ่งที่คนนั่งหลังพวงมาลัยนานๆ จะพบเจอกันก็คือ อาการปวดหลัง เส้นทางที่ยาวไกลนั้นไม่ใช่อุปสรรค แค่ความเมื่อยล้านี่แหละที่ทำให้หลายคนเบื่อหน่ายกับการขับรถทางไกล แล้วยิ่งใครที่ใช้รถมากๆ ยิ่งนานวันก็จะยิ่งปวดเมื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะร่างกายนั้นไม่ชอบที่จะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ และถ้าเป็นท่าทางที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของร่างกายก็ยิ่งไม่ดีเข้าไปอีก เช่น ก้มหน้ามากไป หลังงอมากไป เป็นต้น อีกทั้งการใช้สายตาจนเกิดความเมื่อยล้า มันจะค่อยๆ สะสมความเครียดและมีผลต่ออาการเกร็งกล้ามเนื้อด้วย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในระหว่างการขับรถทั้งหมดเลย ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มแก้ที่ปรับท่าทางของร่างกายให้ถูกต้องเสียก่อน

2.ปรับความสูงต่ำของเบาะ

คนที่ไม่สูงนักก็มักจะต้องปรับเบาะให้สูงขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะนั่งไปแล้วมองไม่เห็นถนนข้างหน้า แต่คนตัวสูงมักจะละเลยที่จะปรับเบาะขึ้นลง ทั้งที่ความจริงระยะความสูงของเบาะค่อนข้างสำคัญ เพราะมีผลโดยตรงต่อแผ่นหลัง ระดับที่ไม่พอดีหลังเราจะโค้งงอ จนปวดหลังในที่สุด

3. ปรับมุมของพวงมาลัย

พวงมาลัยที่ตั้งมุมสูงกว่าธรรมชาติของร่างกาย จะทำให้เราเกร็งช่วงคอ บ่าและไหล่ แถมยังทำให้บังคับรถได้ไม่สะดวก ต้องเอื้อม ต้องขยับในบางจังหวะ ให้ปรับพวงมาลัยให้อยู่ในตำแหน่งที่เราจะถือพวงมาลัยได้ด้วยความรู้สึกสบายในช่วงเวลานาน

4. ปรับกระจกข้างและกระจกหลัง

 กระจกเป็นจุดที่เราต้องมองดูอยู่เป็นระยะตลอดการขับขี่ ดังนั้นถ้าจะดูทีไรก็ต้องยืดหรือหดตัว เอียงศีรษะหรือโยกตัวไปมา มันจะสะสมความเมื่อยล้าให้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน แถมยังอาจจะทำให้เกิดจุดบอดที่มองไม่เห็น อุบัติเหตุก็จะเกิดได้ง่ายขึ้นด้วย

หลักการสำคัญทั้งหมดก็คือ ปรับทุกอย่างที่อยู่ในรถให้สอดคล้องกับร่างกาย อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป และเมื่อต้องขับรถทางไกล ต่อให้ไม่รู้สึกเมื่อยก็ต้องมีช่วงพักเป็นระยะ พักทั้งรถและพักทั้งตัวเรา อาจจอดแวะตามปั๊ม ร้านอาหาร จุดท่องเที่ยว เพื่อออกจากรถแล้วไปเดินยืดเส้นยืดสายเสียบ้าง ก็จะลดอาการปวดหลังจากการขับรถลงได้

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *